บทที่ ๔

บทที่ ๔ บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

ผู้แต่ง  

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ลักษณะคำประพันธ์     กลอนบทละคร

จุดประสงค์ในการแต่ง   เพื่อใช้เล่นละครใน และใช้เป็นบทปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ สอนศีลธรรมแก่ประชาชน

ที่มาของเรื่อง       บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ฉบับระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ข้อคิดที่ได้รับ  
                     ๑. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้
                     ๒. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก
                     ๓. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น
                     ๔. ความหลงอำนาจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องได้รับความเดือดร้อน
                     ๕. วรรณคดีเป็นบทวิจารณ์ชีวิตที่ทำให้คนเราเข้าใจชีวิตของเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง

เนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่องย่อ
        นนทกนั่งประจำอยู่ที่บันไดของเขาไกลลาศ  โดยมีหน้าที่ล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร  ได้ยื่นเท้าให้ล้างแล้วมักแหย่เย้าหยอกล้อ นนทกอยู่เป็นประจำ  ด้วยการลูบหัวบ้าง  ถอนผมบ้างจนกระทั่งหังโล้นทั้งศรีษะ  นนทกแ้นใจมากแต่ว่าตนเองไม่มีกำลังจะสู้ได้  จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวร แล้วกราบทูลว่า ตนได้ทำงานรับใช้พระองค์มานานถึง ๑๐ ล้านปี  ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนใดๆเลย  จึงทูลขอให้นิ้วเพชร  มีฤทธฺ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตาย   พระอิศวรเห็นว่านนทกปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระองค์มานานจึงประทานพรให้ตามที่ขอ  ไม่นานนักนนทกก็มีใจกำเริบ  เพียงแต่ถูกเทวดามาลูบหัวเล่นเช่นเคย  นนทกก็ชี้ให้ตายเป็นจำนวนมากพระอิศวรทรงทราบก็ทรงกริ้ว  โปรดให้พระนาายณ์ไปปราบ พระนารายณ์ แปลวเป็นนางฟ้ามายั่วยวน  นนทกนึกรักจึงเกี่ยวนาง นางแปลงจึงชักชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก  นนทกรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ขาตนเองนนทกก็ลมลง
        จากนั้นนนทกเห็นนางแปลงร่างเป็นพระนารายณ์  จึงตอบว่า พระนารายณ์  ว่าเอาเปรียบตนเพราะว่าพระนารายณ์มีอำนาจ มีถึง ๔  กร  แต่ตนมีแค้สองมือ  และเหตุใดจึงมาทำอุบายหลอกลวงตนอีก พระนารายณ์จึงท้าให้นนทก  ไปเกิดใหม่ให้มี ๒๐ มือ  แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง ๒ มือ  ลงไปสู้กัน หลังจากที่พระนารายพูดจบก็ใช้พระแสงตรีตัดศรีษะนนทกแล้วนนทกก็สิ้นใจตาย ชาติต่อมานนทกจึงได้ไปเกิดเป็นทศกรรฐ์   ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้