แบบฝึกหัด


ตอนที่ ๑ จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
๑. ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจัดเป็นวรรณคดีประเภทใด และเพราะเหตุใด
     ๑.   วรรณคดีสดุดี เพราะบันทึกเรื่องราวคุณความดีของผู้ใดผู้หนึ่งในลักษณะสดุดีเกียรติคุณ
     ๒.  วรรณคดีคำสอน เพราะชี้แจงแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสังคมให้ถูกต้อง ดีงาม
     ๓.  วรรณคดีพิธีกรรม เพราะแสดงสาเหตุ ขั้นตอน และรายละเอียดของการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ  
     ๔.  วรรณคดีเพื่อความบันเทิง เพราะมุ่งเน้นให้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลินจากการแสดงพฤติกรรมของตัวละคร

๒. ข้อใดอธิบายความในศิลาจารึกต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
        พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวกันห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก
     ๑.  พระราชบิดาของพ่อขุนรามคำแหงมีพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
     ๒. พระราชมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมีพระนามว่าพระนางเสือง
     ๓. พ่อขุนรามคำแหงมีพี่น้องที่เกิดแต่พระราชมารดาพระองค์เดียวกัน ๕ พระองค์
     ๔. พ่อขุนรามคำแหงเป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ ๒ ส่วนพ่อขุนบานเมืองเป็นพระเชษฐาองค์โต

๓. ข้อความต่อไปนี้แสดงความภูมิใจในวีรกรรมของพ่อขุนรามคำแหงอันเนื่องมาจากคุณธรรมใดเด่นชัดที่สุด

        ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่ายพายจแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี
      ๑.  ความกตัญญู                                                                   ๒. ความเสียสละ
      ๓. ความกล้าหาญ                                                                ๔. ความจงรักภักดี

๔. ข้อใดกล่าวถึงข้อความต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมืองได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตายจึ่งได้เมืองแก่กูทั้งกลม
     ๑. ข้อความข้างต้นแสดงความภูมิใจในฐานะบุตรและพระเชษฐาที่ดี
     ๒. ปรากฏคุณค่าทางวรรณศิลป์ชัดเจน คือ การซ้ำคำ ซ้อนคำ และการใช้สัมผัสคล้องจอง
     ๓. ข้อความข้างต้นมีเอกภาพและสารัตถภาพชัดเจน เพราะมีการใช้คำช่วยย้ำเน้นความให้หนักแน่น
     ๔. แสดงคุณธรรมของพ่อขุนรามคำแหง คือ ความกตัญญู ความจงรักภักดี และความเสียสละมากกว่าความกล้าหาญ

๕. ข้อใดอธิบายความหมายของข้อความในศิลาจารึกต่อไปนี้ถูกต้องมากที่สุด
                หัวซ้ายขุนสามชนขับมา หัวขวาขุนสามชนเกลื่อนเข้า
      ๑. ขุนสามชนไสช้างทางซ้ายและทางขวาดาหน้าเข้ามาอย่างรวดเร็ว
      ๒. ขุนสามชนเคลื่อนไพร่พลทางซ้ายและขวาดาหน้าเข้ามาอย่างรวดเร็ว
      ๓. ขุนสามชนไล่กองทัพช้างสารทางซ้ายและขวาเคลื่อนเข้ามาอย่างรวดเร็ว
      ๔. ขุนสามชนเคลื่อนไพร่พลช้างทางปีกซ้ายและปีกขวาดาหน้าเข้ามาอย่างรวดเร็ว

๖. ข้อใดกล่าวถึงกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงได้ถูกต้อง
     ๑. เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ทรงพระนิพนธ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
     ๒. แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง คือ แต่งกาพย์ฉบัง ๑ บท สลับกับโคลงสี่สุภาพ ๑ บท
     ๓. มีเนื้อหาเล่าการเดินทางไปพระพุทธบาทและชมธรรมชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจที่พบเห็นระหว่างทาง
     ๔. มีบทชมสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก บทชมนก บทชมไม้ทั้งไม้ดอกและไม้ผล บทชมสัตว์น้ำ และปิดท้ายบทชมนาง

 ๗. คำประพันธ์ใดไม่ได้พรรณนาลักษณะของสัตว์
      ๑.      กระเห็นเต้นคล้ายคล้าย                                            ลายพรอมแพรมแกมดำเหลือง
        ไต่บนต้นหมากเฟือง                                                         ลูกสุกห่ามตามกันกิน
      ๒.     ตุ๊กตู่หมู่ตุ๊กแก                                                            อึ่งอ่างแย้แลบึ้งแตน
        ผึ้งหลวงรวงเลื้อยแขวน                                                    บนปลายไม้ใหญ่รังรวง   
       ๓.     ไก่ฟ้าอ้าสดแสง                                                          หัวสุกแดงแทงเดือยแนม
        ปีกหางต่างสีแกม                                                               สีแต้มต่างอย่างวาดเขียน
       ๔.     ชมชมดรสกลิ่นกล้า                                                  หน้าเซี่ยมแสล้มแนมคู่เคียง
        เล่าฦ        ๅชมดเชียง                                                          คนหานักมักตามรอย

 ๘.  คำประพันธ์ในข้อใดแสดงธรรมชาติของสัตว์เช่นเดียวกับคำประพันธ์ตัวอย่าง
                        งูเขียวรัดตุกแก                                                ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน
                กัดงูงูยิ่งพัน                                                                อ้าปากง่วงล้วงตับกิน
      ๑.              ไก่ป่าจ้าเสียงเตี้ย                                                พาลูกเมียเขี่ยหากิน
        เห็นคนก่นวิ่งบิน                                                               เข้าเร้นรอกซอกซอนหาย
      ๒.     ยูงทองย่องเยื้องย่าง                                                   รำรางชางช่างฟ่ายหาง
        ปากหงอนอ่อนสำอาง                                                       ช่างรำเล่นเต้นตามกัน
       ๓.     กระรอกหางพัวพู่                                                      โพรงไม้อยู่คู่ไล่ตาม
        หางสลวยละลวยงาม                                                         วิ่งไปมาน่าเอ็นดู
       ๔.     กระแตไต่ไม้กระจ้อย                                               ตัวน้อยน้อยโจนเรี่ยเรี่ย
        โพรงปรูอยู่กับเมีย                                                            หางพัวเรียวเที่ยวไปมา

 ๙. คำประพันธ์ในข้อใดไม่สอดคล้องกับข้อความต่อไปนี้
        กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีคุณค่าในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ คือ ได้รู้จักสัตว์ที่แปลกตา ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำที่ทำให้เกิดจินตภาพด้านความเคลื่อนไหวได้อย่างกระจ่างชัด
   ๑.                นกแก้วแจ้วเสียงใส                                           คลอไคล้คู่หมู่สาลิกา
        นกตั้วผัวเมียคลา                                                                ฝ่าแขกเต้าเหล่าโนรี
    ๒.       นกกดอดทนสู้                                                           พบงูเห่าเอาปีกบัง
        งูโพนพังพานหวัง                                                              จะขบตอดบรอดเลย
    ๓.        ป้องข่างอย่างปึ้งก่า                                                    มาแปลกกันมันรู้บิน
        เหนียงในใต้คางกิน                                                           อาหารได้ไป่รู้เลย
    ๔.        พังพอนจรเคล้าคู่                                                       พบพานงูอยู่สู้กัน
        งูเห่าเอาขนดพัน                                                                 พังพอนผันหันตัวตาม

๑๐. คำประพันธ์ในข้อใดแสดงความเชี่ยวชาญด้านวรรณศิลป์ของกวีได้เด่นชัดที่สุด
    ๑.                นกแก้วแจ้วรี่ร้อง                       เร่หา
        ใกล้คู่หมู่สาลิกา                                         แวดเคล้า
        นกตั้วผัวเมียมา                                          สมสู่
        สัตวาฝ่าแขกเต้า                                          พวกพ้องโนรี
     ๒.      นกกระเรียนเวียนว่อนน้ำ                 เลงแล
        ลงย่องร้องแกร๋แกร๋                                   แจ่มจ้า
        ริมทุ่งกระทุงลอยแพ                                 ลงล่อง
        บินกลาดกลุ้มท้องฟ้า                                ร่อนร้องเหลือหลาย
     ๓.       ดูงูขู่ฝูดฝู้                                             พรูพรู
        หนูสู่รูงูงู                                                     สุดสู้
        งูสู้หนูหนูสู้                                                 งูอยู่
        หนูรู้งูงูรู้                                                     รูปถู้มูทู
     ๔.       กางเขนรำไต่ต้น                                พฤกษา
        บ่าวขุนกางปีกรา                                       ปากอ้า
        จินโจ้แกงจืดมา                                          พูดเพรียก
        นกพริกร้องแจ้วจ้า                                     ป่าก้องวังเวง

๑๑. เพราะเหตุใดพระอิศวรจึงทรงรู้สึกเสียใจที่ได้ประทาน นิ้วเพชร ให้แก่นนทก
        ๑. เพราะประทานอิทธิฤทธิ์ให้แก่คนชั่วอย่างนนทก
       ๒. เพราะประทานอำนาจให้แก่คนที่ลืมตัวอย่างนนทก
       ๓. เพราะประทานรางวัลให้แก่คนที่ไม่สมควรได้รับอย่างนนทก
       ๔. เพราะประทานความชอบให้แก่นนทกโดยไม่ได้ถามไถ่เหล่าเทวดา

๑๒. เพราะเหตุใดพระนารายณ์จึงต้องแปลงเป็นนางรำ ลวงให้นนทกร่ายรำตามท่าต่าง ๆ จนถึงท่านาคาม้วนหาง
         ๑. ต้องการให้นนทกหลงใหลในความงามของนางรำจนประมาท
         ๒. ต้องการให้นนทกเคลิบเคลิ้มร่ายรำตามท่าต่าง ๆ จนไม่ระมัดตนเอง
         ๓. ต้องการให้นนทกรู้ฤทธิ์เดชอำนาจของ นิ้วเพชร ที่ใช้ทำระรานผู้อื่น
         ๔. ต้องการให้นนทกรู้สึกตัวและคิดได้ว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ถูกต้อง สมควรถูกลงโทษ

๑๓. ข้อใดสรุปลักษณะทางวรรณศิลป์ของคำประพันธ์ต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
                ๑)    จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู                     ดูเงาในน้ำแล้วร้องไห้
                        ฮัดฮัดขัดแค้นแน่นใจ                                        ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
                ๒)   เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์                              พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข
                        งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร                                งามนัยน์เนตรงามกร
                ๓)   โฉมเอยโฉมเฉลา                                               เสาวภาคย์แน่งน้อยพิสมัย
                        เจ้ามาแต่สวรรค์ชั้นใด                                       นามกรชื่อไรนะเทวี
                ๔)   เหตุใดมิทำซึ่งหน้า                                             มารยาเป็นหญิงไม่บัดสี
                        ฤๅว่ากลัวนิ้วเพชรนี้                                          จะชี้พระองค์ให้บรรลัย
        ๑.  มีการสรรคำใช้ได้อย่างกระชับและกินความได้มาก
        ๒. มีการเล่นคำซ้ำ เล่นความ และใช้ประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์
        ๓.  มีการใช้โวหารเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจความรู้สึกของตัวละครอย่างชัดเจน
        ๔.  มีรสวรรณคดีครบทั้ง ๔ รส คือ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง และสัลลาปังคพิสัย      
      
๑๔. ข้อใดคือข้อคิดสำคัญที่ปรากฏในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก
        ๑. ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย
       ๒. ความโกรธทำให้คนเราทำสิ่งเลวร้ายทุกอย่างได้เพราะขาดสติ
       ๓. ความหลงใหลในรูป รส กลิ่น เสียง และกิเลสตัณหาเป็นเหตุแห่งความพินาศ
       ๔. อำนาจหากตกอยู่ในมือของคนที่ขาดความรู้สึกผิดชอบย่อมก่อให้เกิดผลร้ายมหาศาล

๑๕. คำประพันธ์ข้อใดเป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมดในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก

         . ให้นิ้วข้าเป็นเพชรฤทธี                        จะชี้ใครจงม้วยสังขาร์
            จะได้รองเบื้องบาทา                             ไปกว่าจะสิ้นชีวี
         ๒. ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์                       จงไปอุบัติเอาชาติใหม่
             ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร          เหาะเหินเดินได้ในอัมพร
         ๓. อ้ายนี่ทำชอบมาช้านาน                       เราจึงประทานพรให้
             มันกลับทรยศกระบถใจ                      ทำการหยาบใหญ่ถึงเพียงนี้
         ๔. อยู่บันไดไกรลาสเป็นนิจ                   สุราฤทธิ์ตบหัวแล้วลูบหน้า
        บ้างให้ตักน้ำล้างบาทา                               บ้างถอนเส้นเกศาวุ่นไป           

๑๖. ข้อใดกล่าวถึงโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการไม่ถูกต้อง
       ๑. โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพทั้งหมด ๑๐ บท
       ๒. ทศนฤทุมนาการ หมายถึง กิจ ๑๐ ประการที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ
       ๓. โคลงทั้ง ๑๐ บทมีเนื้อหาเป็นข้อแนะนำทั้งทางด้านมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม
       ๔. พระบาทพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลจากภาษาอังกฤษมาเป็นโคลงสี่สุภาพ

๑๗. หากเพื่อนของนักเรียนมีศัตรูมาก เพราะไม่เคยให้ความช่วยเหลือใคร และมักพูดจาหยาบคายว่าร้ายผู้อื่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวลาไม่พอใจ นักเรียนควรแนะนำให้เพื่อนประพฤติกิจในโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการข้อใดจึงจะเหมาะสม
    ๑. ทำความดีทั่วไป  ไม่พูดร้ายต่อใคร  และอดพูดเวลาโกรธ
    ๒. ทำความดีทั่วไป  รู้จักอดกลั้นต่อผู้อื่น และคิดเสียก่อนจึงพูด
    ๓. มีความกรุณาต่อคนที่ถึงอับจน  คิดเสียก่อนจึงพูด  และอดพูดเวลาโกรธ
    ๔. มีความกรุณาต่อคนที่ถึงอับจน  รู้จักอดกลั้นต่อผู้อื่น และรู้จักขอโทษเมื่อทำผิด 

 ๑๘. หากนักเรียนทำงานผิดพลาดเพราะขาดความรอบคอบ มักตัดสินใจรวดเร็ว เพียงเพราะฟังคำพูดอันไร้สาระของคนอื่น แม้บางครั้งจะรู้ว่าเป็นคำพูดที่เพ้อเจ้อ แต่ก็ชอบฟัง และบางครั้งก็เชื่อทันทีโดยไม่ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วน นักเรียนคิดว่ากิจในโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการข้อใดที่ควรนำไปประพฤติปฏิบัติ
     ๑. ทำความดีทั่วไป รู้จักขอโทษเมื่อทำผิด และไม่หลงเชื่อข่าวร้าย
     ๒. ทำความดีทั่วไป  ไม่ฟังคำคนพูดเพศนินทา และไม่หลงเชื่อข่าวร้าย
     ๓. ถามฟังความก่อนตัดสิน  คิดเสียก่อนจึงพูด และไม่ฟังคำคนพูดเพศนินทา
     ๔. ถามฟังความก่อนตัดสิน  ไม่ฟังคำคนพูดเพศนินทา  และไม่หลงเชื่อข่าวร้าย

๑๙. โคลงบทใดไม่มีการเปรียบเทียบ
      ๑. พาทีมีสติรั้ง                                     รอคิด 
         รอบคอบชอบแลผิด                        ก่อนพร้อง
         คำพูดพ่างลิขิต                                  เขียนร่าง เรียงแฮ
         ฟังเพราะเสนาะต้อง                          โสตทั้งภัย
      ๒. กรุณานรชาติผู้                                พ้องภัย พิบัติเฮย
        ช่วยรอดปลอดความกษัย                 สว่างร้อน
        ผลจักเพิ่มพูนใน                                อนาคต กาลแฮ
        ชนจักชูชื่อช้อน                                 ป่างเบื้องปัจจุบัน
      ๓. ขันตีมีมากหมั้น                              สันดาน
        ใครเกะกะระราน                              อดกลั้น
        ไป่ฉุนเฉียบเฉกพาล                          พาเดือด ร้อนพ่อ
         ผู้ประพฤติดั่งนั้น                              จักได้ใจเย็น
     ๔. ไป่ฟังคนพูดฟุ้ง                               ฟั่นเฝือ
        เท็จและจริงจานเจือ                           คละเคล้า
        คือมีดเที่ยวกรีดเถือ                           ท่านทั่ว ไปนา
        ฟังจะพาพลอยเข้า                              พวกเพ้อรังควาน

  ๒๐. ข้อใดกล่าวถึงคำประพันธ์ต่อไปนี้ถูกต้อง
                ยินคดีมีเรื่องน้อย                            ใหญ่ไฉน ก็ดี
        ยังบ่ลงเห็นไป                                            เด็ดด้วน
        ฟังตอบขอบคำไข                                     คิดใคร่ ครวญนา
        ห่อนตัดสินห้วนห้วน                                เหตุด้วยเบาความ
    ๑. สอนให้ใช้วิจารณญาณในการฟัง
    ๒. มีการเล่นคำและใช้โวหารภาพพจน์
    ๓. คำว่า เบาความ หมายถึง ไม่หนักแน่น
    ๔. ตรงกับสำนวนที่ว่า ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด





  เฉลย
                  ๑. ๑                      ๒. ๔                   ๓. ๓                  ๔. ๑                  ๕. ๓
                  ๖. ๓                     ๗. ๒                   ๘. ๑                  ๙. ๑                  ๑๐. ๓
                  ๑๑. ๒                   ๑๒. ๓                ๑๓. ๑               ๑๔. ๑                ๑๕. ๔
                  ๑๖. ๑                   ๑๗. ๔                ๑๘. ๔              ๑๙. ๒                ๒๐. ๑


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้