บทที่ ๖


บทที่ ๖  โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง    
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (พระปิยมหาราช)    

ลักษณะคำประพันธ์
                 โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสี่สุภาพ ๑๘ บท
                 โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นโคลงสี่สุภาพ ๑๒ บท
                 โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ เป็นร้อยแก้ว
          และสรุปด้วยโคลงสี่สุภาพ(เป็นสุภาษิต)มีทั้งหมด ๔ เรื่อง คือ ราชสีห์กับหนู , บิดากับบุตรทั้งหลาย , สุนัขป่ากับลูกแกะ กระต่ายกับเต่า
  
ที่มาของเรื่อง
                   โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เดิมเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์เป็นโคลงภาษาไทย พระองค์ท่านได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย) 
                 โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน (โดยทรงแปลมาจากโคลงเดิมที่เป็นภาษาอังกฤษ)
                  โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน โดยทรงแปลมาจากนิทานกรีกฉบับภาษาอังกฤษ เพราะสมัยนั้นคนไทยนิยมอ่านเรื่องที่แปลมาจากวรรณคดีตะวันตกกันมาก โดยเฉพาะนิทานอีสป เพราะไม่ผูกติดกับขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมของชาติใดชาติหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลนิทานอีสปไว้ทั้งหมด ๒๔ เรื่อง และทรงพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตประกอบนิทานร่วมกับกวีอีก ๓ ท่าน คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระยาศรีสุนทรโวหาร และ พระยาราชสัมภารากร ซึ่งรวมเรียกว่า โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ

จุดประสงค์ในการแต่ง
                    -  โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ และ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อต้องการจะอธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรมซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน ทุกฐานะ ทุกอาชีพ ได้นำไปเป็นเครื่องโน้มนำให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติและมีความปลอดโปร่งในชีวิต   
                     - โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้อ่านให้ พิจารณาคำสอนที่ได้จากนิทานเรื่องนั้นๆ

เนื้อเรื่อง
สาระสำคัญ
                    โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ กล่าวถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและสิ่งที่ควละเว้น ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ รวม ๔๘ ข้อ ดังต่อไปนี้ว่าด้วยความสามอย่าง กล่าวถึง นักปราชญ์ได้แสดงเนื้อหาเป็นเรื่องสอนใจไว้อย่างครบครันเป็น ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ เพื่อเป็นแม่บทให้แก่บัณฑิตผู้ที่มุ่งความหวังความสุข ขจัดความทุกข์ และมุ่งสร้างคุณงามความดีไว้เป็นที่สรรเสริญต่อไปได้ประพฤติและปฎิบัติตาม

                     โคลงสุภาษิตนฤทุมการ กล่าวถึง ๑๐ ประการ ที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ เพราะเป็นความประพฤติดีในไตรทวาร (กาย วาจา ใจ ) อันจะยังให้เกิดผลดีแก่ผู้ประพฤติเองและต่อสังคมส่วนรวม
                                 ๑.เพราะความดีทั่วไป                                     ๒.เพราะไม่พูดจาร้ายต่อใครเลย
                                 ๓.เพราะถามฟังความก่อนตัดสิน                    ๔.เพราะคิดเสียก่อนจึงพูด
                                 ๕.เพราะอดพูดในเวลาโกรธ                            ๖.เพราะได้กรุณาต่อคนที่ถึงอับจน
                                 ๗.เพราะขอโทษบรรดาที่ได้ผิด                         ๘.เพราะอดกลั้นต่อผู้อื่น
                                ๙.เพราะไม่ฟังคำคนพูดเพศนินทา                    ๑๐.เพราะไม่หลงเชื่อข่าวร้าย
                         ที่กล่าวมาทั้ง ๑๐ ประการนี้ แม้จะกระทำตามได้ไม่หมดทุกข้อ กระทำได้เป็นบางข้อก็ยังดี

      
 โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ
๑.ราชสีห์กับหนู
                 มีราชสีห์ตัวหนึ่งกำลังนอนหลับอยู่ มีหนูตัวหนึ่งวิ่งขึ้นไปบนหน้าทำให้ราชสีห์ตกใจตื่นและโกรธพร้อมกับจับหนูไว้ได้และจะฆ่าเสีย แต่เจ้าหนูได้อ้อนวอนขอชีวิตไว้แล้วจะตอบแทนคุณในภายหลัง ราชสีห์หัวเราะแล้วก็ปล่อยเจ้าหนูตัวนั้นไป ต่อมาราชสีห์ถูกนายพรานจับมัดไว้ด้วยเชือกหลายเส้นส่งเสียงร้องดัง จนเจ้าหนูนั้นได้ยินมันจึงมาช่วยกัดเชือกจนขาดช่วยชีวิตราชสีห์ไว้ได้
๒. บิดากับบุตรทั้งหลาย
               กล่าวถึงชายผู้หนึ่งมีบุตรที่ทะเลาะกันมิได้ขาด ผู้เป็นบิดาจะตักเตือนอย่างไรพวกเขาก็ไม่ฟัง ผู้เป็นบิดาจึงหาทางแก้ไขด้วยการสั่งให้บุตรทั้งหลายหาไม้เรียวให้กำหนึ่ง แล้วให้บุตรนั้นหักให้เป็นท่อนเล็กๆแต่พวกบุตรก็ไม่มีใครสามารถหักได้เลยสัก ผู้เป็นบิดาจึงแก้มัดไม้เรียวกำนั้นออก แล้วส่งให้บุตรหักทีละอัน ปรากฏว่าทุกคนหักได้โดยง่าย ผู้เป็นบิดาจึงสอนบุตรว่า หากพวกเจ้ามีความสามัคคีกันรักกันดุจไม้เรียวกำนี้ก็จะไม่มีใครมาทำร้ายพวก เจ้าได้ แต่ถ้าพวกเจ้าต่างคนต่างแตกแยกทะเลาะวิวาทกันเช่นนี้ก็จะมีภัยอันตรายได้ ก็จะเป็นประดุจไม้เรียวทีละอันที่ถูกทำลายได้โดยง่าย
 ๓. สุนัขป่ากับลูกแกะ
               กล่าวถึงสุนัขป่าตัวหนึ่งมาพบลูกแกะหลงฝูงตัว หนึ่ง มันคิดจะกินลูกแกะเป็นอาหาร จึงได้ออกอุบายกล่าวโทษเจ้าลูกแกะต่างๆนานา เพื่อให้ลูกแกะเห็นว่าตนมีความผิดจริงสมควรที่จะให้สุนัขป่าจับกินเป็นอาหาร แต่ลูกแกะก็ไม่ยอมรับ ในที่สุดด้วยความเป็นพาลเจ้าสุนัขป่าก็จับลูกแกะกินจนได้
๔. กระต่ายกับเต่า
              กล่าวถึงกระต่ายตัวหนึ่งหัวเราะเยาะเต่าที่เท้า สั้นเดินช้า เต่าจึงท้ากระต่ายวิ่งแข่งกัน โดยให้สุนัขจิ้งจอกเป็นผู้เลือกทาง และกำหนดที่แพ้ชนะให้ พอถึงวันกำหนด ทั้งเต่าและกระต่ายก็ออกเดิน เริ่มต้นที่จุดเดียวกัน กระต่ายนั้นเชื่อมั่นว่าตนขายาวและวิ่งเร็วกว่าจึงเผลอพักหลับไป ครั้นพอตื่นขึ้นมาวิ่งไปโดยเร็ว พอถึงเส้นชัยก็เห็นว่าเต่าอยู่ที่นั่นก่อนนานแล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้