บทที่ ๗


บทที่ ๗ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

ผู้แต่ง 

พระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

ลักษณะคำประพันธ์       กลอนดอกสร้อย ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลอนสุภาพ เพียงแต่ขึ้นต้นด้วยเอ๋ย ลงท้ายด้วยเอย ๑ บทมี ๘ วรรค

คุณค่า                          เนื้อหาแสดงสัจธรรมของชีวิตด้วยถ้อยคำภาษาที่สละสลวย

ที่มาของเรื่อง    
              กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้ามาจากบทกวีนิพนธ์เรื่อง Elegy Writen in a Country Churchyard ของทอมมัส เกรย์ (Thormas Grayกวีอังกฤษผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘
         *Elegy หมายถึงโคลงที่กล่าวไว้อาลัย หรือคร่ำครวญถึงผู้ที่จากไป โดยพระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ประพันธ์จากต้นฉบับแปลของเสฐียรโกเศศ เป็นกลอนดอกสร้อยจำนวน ๓๓ บท
ประวัติผู้แต่ง       
              พระยา อุปกิตศิลปสารเกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๒ ถึงแก่กรรมวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่วัดบางประทุนนอกธนบุรีและวัดประยูรวงศาวาสบวชเป็น สามเณรและพระภิกษุที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้เปรียญ ๖ ประโยคและศึกษาวิชาครูด้วยเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย ภาษาบาลี และวรรณคดีโบราณ เคยเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาสำคัญหลายแห่งนามปากกาของ พระยาอุปกิตศิลปสาร ที่รู้จักกันมาก เช่น อ.น.ก. อุนิกา อนึก คำชูชีพ ม.ห.น. เป็นต้น เกียรติคุณพิเศษของพระยาอุปกิตศิลปสาร มีดังนี้
        -เป็นคนแรกที่บัญญัติคำทักทายเมื่อแรกพบกันว่า "สวัสดี" ซึ่งแปลว่า สะดวก สบายดี เพราะแต่ก่อนนี้แรกพบกัน คนไทยไม่มีระเบียบในการใช้คำทักทาย
        -เป็นนักประพันธ์ไทยคนแรกที่อุทิศโครงกระดูกให้แก่มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์คือศิริราช โดยกล่าวว่า "ฉันเป็นครูตายแล้วขอเป็นครูต่อไป"
        -เป็น คนแรกที่แต่งตำรา "สยามไวยากรณ์" หรือตำราไวยากรณ์ไทย ได้สำเร็จบริบูรณ์คือมีทั้ง อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ โดยอาศัยเค้าโครงเก่าของกรมวิชาการ และไวยากรณ์อังกฤษเป็นหลัก

 เนื้อเรื่อง
 เนื้อเรื่องย่อ
          เสียงระฆังดังหง่างเหง่ง  ทำให้ท้องทุ่งมืดมิดและทิ้งให้ข้าพเจ้าอยู่เพียงผู้เดียว  ในเวลานี้ทั่วแผ่นดินมืดมิด ป่าใหญ่แห่งนี้เงียบสงัด มีแต่เสียงจิ้งหรีดเรไรร้องระงม และก็ได้ยินเสียงจากคอกวัวควายดังแว่วมาแต่ไกล เสียงนกแสกร้องขึ้นมาทำให้ข้าพเจ้าเสียขวัญ  ที่ใต้ต้นไม้มีเนินหญ้าซึ่งเป็นที่ฝังศพของคนในเขตนั้น ศพที่นอนนิ่งอยู่ในหลุมลึกดูแล้วรู้สึกสลดใจ และตัวข้าพเจ้าเองก็ใกล้จะได้นอนอยู่ในหลุมนั้นเช่นกัน  ยามหนาวเคยนั่งผิงไฟอยู่พร้อมหน้า แต่ต้องมาทิ้งเพื่อนทิ้งแม่เรือนที่คอยหุงหาอาหารให้รับประทานเช้าเย็น
 ทิ้งลูกน้อยที่เมื่อเห็นหน้าพ่อกลับมาก็ดีใจกอดคอฉอเลาะด้วยเสียงที่น่าฟัง ความทะเยอทะยาน ขออย่าบันดาลใจให้ดูถูกชาวนาและครอบครัวอันชื่นบานของเขา คนมีชาติตระกูลสูง คนมีอำนาจ คนมีหน้าตางดงาม   คนมีฐานะร่ำรวย ทุกคนต่างก็รอความตายเช่นเดียวกัน บางศพที่ญาติตบแต่งด้วยเครื่องแสดงเกียรติยศอย่างดีที่ระลึกที่สร้างขึ้นถึงแม้จะงามเพียงใดก็ไม่สามารถทำให้ผู้ตายฟื้นขึ้นมาได้ เสียงชื่นชมเชิดชูในคุณงามความดีของผู้ตายก็ไม่สามารถรับรู้ได้ ทุกอย่างล้วนเป็นคุณแก่ญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ ร่างกายของคนตายจมอยู่ใต้พื้นดินมากมาย ขออย่าได้ดูถูกถิ่นที่นี้ว่าไม่ดี เพราะอาจจะเป็นสถานที่มีชื่อเสียงมาก่อน อาจเป็นเจดีย์ หรือที่ฝังศพของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่อันประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการในสมัยโบราณก็ได้ ซากศพทั้งหลายเหล่านี้ อาจเป็นซากศพของนักรบ
ผู้กล้าหาญ เช่น ชาวบ้านบางระจันที่สู้รบกับกองทัพพม่าที่มาโจมตีกรุงศรีอยุธยาซึ่งอาจนอนถมจมดินอยู่ พวกมักใหญ่ใฝ่สูงจะทำในสิ่งที่ตนมุ่งหมายไว้และปิดบังความจริงบางอย่างไว้ไม่เปิดเผย  ดังนั้นควรถือสันโดษไม่ฟุ้งซ่านทะเยอทะยาน   ศพบางศพมีคำจารึก
ที่จูงใจให้เลื่อมใสและสักการะ   ต่างจากชาวนาหรือคนธรรมดาซึ่งจารึกเพียงชื่อวันเดือนปีที่ตายไป เพื่อจะได้มีชื่อเรียกในการอุทิศส่วนกุศลให้คนตายที่ชื่อนั้นชื่อนี้  แม้จะลืมที่ใดไปหมดแต่เมื่อใกล้ตายก็ยังคิดถึงชีวิตของตนเอง ใครจะยอมละทิ้งความสุขความสบายไปโดยไม่อาลัยไยดี ขอให้ดวงจิตจงลืมกิจการงานทั้งหลาย ที่เคยสุขสนุกสบาย เคยเสียดาย เคยวิตกและเคยปกครองละทิ้งถิ่นที่เคยให้ความสุขซึ่งเคยคิดเป็นเจ้าของ ขอให้หมดวิตก หมดเสียดาย หมดความปรารถนา โดยไม่หันหลังเหลียวมองมันอีก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้