บทที่ ๑


บทที่ ๑ โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

ผู้แต่ง   
   โคลงพระสุริโยทัยขาดคอช้าง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                                 
โคลงพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต พระนิพนธ์พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร 
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์)

ลักษณะคำประพันธ์       โคลงพระสุริโยทัยขาดคอช้างแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ ๖ บท
                                    โคลงพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิตแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ ๔ บท

             ที่มาของเรื่อง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพ และให้มีโคลงบอกเรื่องพระราชพงศาวดารที่เขียนรูปภาพติดประจำทุกกรอบ รูปใหญ่ ๖ บท รูปเล็ก ๔ บท มีทั้งหมด ๙๒ ภาพ โคลงที่แต่งมีจำนวนทั้งหมด ๓๗๖ บท สร้างเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ และไปประดับที่พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เนื้อเรื่อง
โคลงพระสุริโยทัยขาดคอช้าง
        สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแผ่นดินสยาม จึงนำกำลังพลออกตั้งค่ายเตรียมรับศึกและดูกำลังฝ่ายตรงข้าม แล้วนำกำลังพลออกมากลางสนามรบ สมเด็จพระสุริโยทัย พระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้แต่งองค์ทรงเครื่องเยี่ยงชาย เป็นชุดออกศึกเฉกเช่นมหาอุปราช แล้วทรงช้างเข้าร่วมรบ กองทัพหน้าของทั้งสองฝ่ายต่อสู้กัน ช้างทรงของพระเจ้าแปรได้ชนช้างกับพระมหาจักรพรรดิ พระมหาจักรพรรดิเสียทีเพลี่ยงพล้ำพระเจ้าแปร สมเด็จพระสุริโยทัยเกรงว่าพระสวามีจะสิ้นพระชนม์ จึงได้ไสช้างเข้าขวางพระเจ้าแปรและสูกับพระเจ้าแปรแทน พระเจ้าแปรได้เอาง้าวฟันสมเด็จพระสุริโยทัยขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์บนคอช้าง สองพระโอรสคือพระราเมศวรและพระมหินทราได้กันพระศพแล้วนำเข้าสู้พระนคร สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ไปแล้ว จึงเหลือแต่คำสรรเสริญไว้
    
โคลงพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต
        พระเจ้าสรรเพชรที่ ๘ ของกรุงศรีอยุธยา ได้เสด็จ ออกประพาส เพื่อออกไปทรงปลา(ตกปลา) โดยประทับเรือพระที่นั่งชื่อเรือ 
เอกไชย ถึงที่โขกขาม ด้วยความที่คลอง โขกขาม นั้น มีความคดเคี้ยวมาก จึงทำให้หัวเรือพระที่นั่งแล่นไปชนกับไม้จนหัวเรือพระที่นั่งหัก  พันท้ายนรสิงห์ตกใจเป็นอย่างมาก จึงกระโดดลงจากเรือพระที่นั้ง และขอให้พระเจ้าสรรเพรช ประหารชีวิตตน และทูลขอให้นำศีรษะของตนกับหัวเรือที่หัก ไปฝั่งไว้ด้วยกัน พระเจ้าสรรเพรชร เห็นว่าไม่ใช่ความผิดของพันท้ายนรสิงห์ จึงไม่ยอมลงโทษ แต่พันท้ายไม่ยอม จะให้ พระเจ้า สรรเพรชประหารชีวิตตนให้ได้ พระเจ้าสรรเพรช จึง ยื่นข้อเสนอให้ ว่า จะสร้างรูปเหมือน ของพันท้ายนรสิงห์และฟันหัวรุปปั้นนั่นแทนศีรษะของพันท้ายนรสิงห์ พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอม พร้อมทั้งยังทูล กับพระเจ้าสรรเพรชที่ไม่ทำตามกฏมนเฑียรบาล ที่กล่าวไว้ว่า ผู้ใดทำทรัพย์สินของพระมหากษัติเสียหาย จะต้องได้รับโทษดดยการประหารชีวิต  พระเจ้าสรรเพรชจึงต้องทำตามคำร้องของพันท้ายนรสิงห์ และเมื่อ พันท้านนรสิงหืเสียชิวิต พระเจ้าสรรเพรช จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯให้นำศรีษะของพันท้ายนรสิงห์ และหัวเรื่อพระที่นั่ง ไปฝั่ง และสร้างศาล ขึ้นเพื่อ แสดงถึงคุณงามความดี ที่พันท้ายนรสิงห์ได้ทำไว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้